วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ขนมไข่ปลา
 
เป็นสัญลักษณ์แทน เครื่องประดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะ คล้ายกำไล แหวน

ส่วนผสม

  1. ถั่วเหลือง
  2. น้ำตาลทรายขาว
  3. น้ำเปล่า

ส่วนผสมสำหรับแป้งชุบ

  1. แป้งสาลี
  2. ไข่แดง
  3. น้ำเปล่า
  4. น้ำมันพืช
  5. เกลือ
  6. น้ำมันพืชสำหรับทอด

วิธีการทำ

1. นำถั่วเหลืองไปนึ่งให้สุก


2. นำถั่วเหลืองที่นึ่งสุกแล้วไปใช่กระทะทองเหลือง ใส่น้ำตาลทรายขาวและไข่แดงลงไป โดยค่อยๆเติมน้ำ กวนจนเป็นเนื้อเดียวกัน
 
3. เมื่อกวนถั่วเหลืองเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว นำมาใสกะละมังรอให้เย็นตัวลงแล้วค่อยนำมาปั้น
 
4. เมื่อถั่วเหลืองที่กวนไว้เย็นแล้ว ก็นำมาปั้นเป็นรูปเหมือนกับไข่ปลา
 
5. ผสมแป้งสาลี ไข่แดง น้ำ เกลือ น้ำมันพืช ใช้ตะกร้อมือหรือเครื่องตีไข่ ตีผสมให้เข้ากัน
 
6. นำถั่วเหลืองที่ปั้นไว้มาชุบแป้งแล้วนำไปทอดจนกรอบ
 
7. เมื่อสุกแล้วก็ตักขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน
 

หมายเหตุ: แต่ละพื้นที่จะใช้ส่วนผสมที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของท้องถิ่น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :http://nakhonsitammarat.com/index.php/kanom-kong.html


ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทน เรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้น แผ่ดังแพ มีน้ำหนักเบา ย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้

ขั้นตอนการทำขนม

ส่วนผสม
  1. สารข้าวเหนียว
  2. น้ำมันพืช
อุปกรณ์ที่ใช้
  1. กระทะ
  2. แบบพิมพ์
  3. สวด
วิธีทำขนมพอง
1. แช่ข้าวสารเหนียวทิ้งไว้ 1 คืนแล้ว
2. นำมาล้างให้สะอาดจนหมดกลิ่น จากนั้นนำไปนึ่งด้วยสวด (หม้อปากกว้างก้นเล็กเจาะรูหลายรูให้ ไอน้ำเข้าด้านล่างออกด้านบน)

3. เมื่อสุกแล้วนำมาอัดลงในแบบพิมพ์เป็นรูปตามต้องการ (แบบพิมพ์มักทำด้วยไม้ไผ่แผ่นบางๆเป็นขอบสูงประมาณ๑เซนติเมตร)โดยมากทำ เป็นรูปวงกลมรูปพระจันทร์ครึ่งซีกรูปสามเหลี่ยมรูปข้าวหลามตัดและรูปทรงพุ่ม เมื่อตกแต่งข้าวเหนียวเป็นรูปตามแบบพิมพ์แล้วจะถอดพิมพ์ออก
4. เมื่อทำเสร็จแต่ละชิ้นนำเรียงไว้บนกระดังหรือภาชนะอื่นๆแล้วนำไปตากแดดจนแห้ง

5. นำไปทอดในกระทะที่น้ำมันกำลังร้อนจัด (ใช้น้ำมันมะพร้าวใหม่หรือน้ำมันอื่นๆ)ข้าวเหนียวก็พองฟูขึ้น


6. เมื่อสุกดีแล้วก็ตักใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน โดยปกติพองจะเป็นสีขาวแต่ถ้าต้องการให้เป็นสีอื่นก็ใช้สีที่ต้องการย้อมข้าว เหนียวตั้งแต่ตอนแช่น้ำ


หมายเหตุ: แต่ละพื้นที่จะใช้ส่วนผสมที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของท้องถิ่น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :http://nakhonsitammarat.com

นมลา
ขนมลาคือ อะไร
ชื่อ ของขนมลา อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตากับบุคคลโดยทั่วไปมากนัก เนื่องจากแปลกทั้งชื่อ และรูปแบบเพราะเป็นขนมพื้นบ้านของท้องถิ่น อาจจะรู้จักกันเพียงภาคใต้โดยเฉพาะ จังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งที่ทำขนมลากันมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงรสชาติ ดี อร่อยที่สุด ปัจจุบันทำเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้นคือ “ขนมลาบ้านหอยราก” ซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่า ชุมชนศรีสมบูรณ์ เดิมชื่อ บ้านหอยราก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ขนมลาเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นคนคิดทำขึ้น
ครั้ง แรก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่ว่าชาวบ้านปากพนังรู้จักทำขนมลาขึ้นใช้ในงานประเพณีสารทเดือนสิบของจ .นครศรีธรรมราช พร้อมกับการก่อตั้งอาณาจักตามพรลิงค์ ซึ่งในงานประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องจัดหมรับไปทำบุญ ที่วัดในแรม 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งเป็น “วันสารท”
 
ทำไม จึงเรียกขนมลา
ขนม ลาชื่อนี้น่าจะเรียกตามกรรมวิธีการทำ เพราะทุกครั้งที่โรยแป้งลงกระทะ จะต้องทาน้ำมันผสมไข่แดงทุกครั้งเพื่อไม่ให้แป้งติดกระทะนั่นเอง การทาน้ำมัน ภาษาถิ่นภาษาใต้เรียกว่า “ลามัน” คนใต้เรียกสั้นๆว่า” ขนมลา” นั่นเอง หากมีผู้สนใจในเรื่องนี้อย่างจริงจังก็ขอเชิญไป ชม ชิม ลิ้มลองรสชาติของขนมลาได้ในช่วงเทศกาลเดือนสิบ
ปัจจุบันได้มีการแปรรูป ขนมลาบ้านศรีสมบูรณ์(บ้านหอยราก) เป็นหลายรูปแบบเช่น นำมาโรยน้ำตาลทรายไปตากแดดเก็บไว้รับประทานหรือม้วนยาวๆ จากกระทะร้อนๆ เรียกว่าลางู สำหรับการแปรรูปขนมลาผลิตออกจำหน่ายไปหลายชนิดนั้น ไม่ได้ใช้แป้งข้าวเจ้ากับข้าวเหนียว แต่ได้ใช้แป้งมันผสมกับแป้งข้าวเจ้าสำเร็จรูปใส่น้ำผึ้ง น้ำตาลทราย แปรรูปออกมาเป็นขนมลาหน้าหมูหยอง ขนมลาอบตะไคร้ เป็นต้น

 
 วิธีการทำขนมลา
 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net
                                   http://www.youtube.com