วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


หมรับหมรับ

  • ความเป็นมา
ห. ม. รับ ที่แปลตามตัวแล้วนั้น นั้นหมายถึงเสลี่ยงที่ประกอบตกและโดยอาหารนานๆ ชนิดมาจัดใส่ภาชนะพร้อมในการที่จะนำไปถวายวัด เพื่อจุดประสงค์ ที่จะอุทิศ ส่วนบุญแด่บรรพบุรุษ ที่จัดขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำ หรือเดือนสิบ และยังเชื่อกันว่า จะต้องถวาย ห ม รับ เล็ก ส่วนการจัด ห ม รับโตนั้นจะจัดและนำไปถวายวัด ในวันแรม ๑๓ - ๑๔ -และ๑๕ ในเดือนสิบนั้นเอง จึงถือว่าวันเวลาดังกล่าวมีความสำคัญมาก การแสดงออก 
  • ช่วงเวลา
เทศกาลเดือนสิบ แรมสิบสาม - สิบสิบสี่และสิบห้าค่ำ เดือนสิบ 
  • การแสดงออกทางความเชื่อ
วิธีการจัด ห. ม. รับนั้น จะมีความแตกต่างโดยปัจจัยหลายๆ อย่าง อาทิเช่นปัจจัยด้านยุคสมัยรูปแบบแต่โบรานั้นจะมีความพิถีพิถัน เช่น การเลือกใช้ภาชนะในอดีตจะใช้กระจาด แต่ในปัจจุบันนั้นจะเป็นถาดที่ทำจากสแตลเลดส์ สังกะสีแทนในปัจจุบัน ซึ่งองค์ประกอบในการสร้างแนวคิดยังได้สรอดแทรกแนวคิด แบบลักษณะความเชื่อ เช่นในสมัยเก่านั้นจะใช้ข้าวรองกระบุบ แล้วใส่หัวหอมแดง กระเทียม แล้วจึงใส่อหารคาวหวาน ที่จัดเรียงเป็นในรูปแบบศิลปะการจัดอาหารในเทศกาลโดยแท้ อย่างเชนการนำมะพร้าว ผักมัน กล้วย อ้อย ข้าวโพด และยังมีการนำของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หมอ กะทะ รวมถึงของชิ้นเล็กๆ เช่น ถ้วย ชาม และน้ำมันก๊าด หมาก พูล กานพูล การบูร พิมเสน ยาเส้นบุหรี่ เป็นต้น ดังนั้น สิ่งต่างๆ ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังบ่งถึงองค์ประกอบทางภาพลักษณ์ ลักษณะภายนอกแต่สิ่งต่างๆนั้นยังได้บอกถึงคุณค่าด้านความเชื่อ ที่ถ่านทอดแนวคิดมาเป็นกิจกรรม แม้แต่แนวคิดการสร้างสรรจินตนาการทางความคิดที่เป็นหัวใจหลัก การจัด ห ม รับ ได้แก่ของที่ใช้ต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จะเป็นการจัดทรัพยากรณ์ในท้องถิ่นโดยการนำเครื่องใช้มาสรรสร้างเป็น ห. ม. รับ โดยการพิจารณา ที่เชื่อว่าจะใช้สิ่งของที่ผู้ที่ล้วงลับไปแล้วนั้นเป็นสิ่งของการจัด ห ม รับ นั้นเอง จึงอาจสรุปได้ว่าเป็นจุดที่ดึงดุดที่แผงเร้นในเทศการเดือนสิบ ยังมีคุณค่าอื่นๆ อีกอทิเช่น การจักห ม รับนั้นจะจักกันเป็นครอบครัว หรือการจัดรวมหมู่ญาติส่วนใหญ่ และเป็นกลุ่มหมู่คณะจะมีการเรียกการจัดในลักษณะนี้ว่า ห ม รับใหญ่ ดังที่ปรากฏ 



การทำขนมดีซำ ( ขนมเจาะหู )

ส่วนผสม

1. แป้งข้าวเจ้า 1 กิโลกรัม 
2. น้ำตาลทรายขาว 600 กรัม
3. น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลปี๊บ 100 กรัม 
4. น้ำเปล่าประมาณ 500 กรัม
5. เกลือป่น



วิธีทำ

 1 นวดแล้วหมักไว้อย่างน้อย 3ชั่วโมง เพื่อให้แป้งขึ้น
2 เติมน้ำมันพืชเล็กน้อย ก่อนปั้นลงทอด เพื่อไม่ให้ติดมือ

3 หยิบแป้งมาก้อนเล็กๆ วางบนมือ หรือถ้าไม่ชำนาญ ก็ใช้ใบตองทาน้ำมันช่วยไม่ให้ติดมือ

กดตรงกลางให้เป็นรู เหมือนขนมโดนัทขนมของฝรั่ง

5 ใส่ลงในกะทะที่มีน้ำมันร้อนๆมากๆ น่ะค่ะแล้วขนมจะฟูๆ ไม่แห้งแข็ง
ถ้าน้ำมันไม่ร้อนขนมจะด้านๆไม่ฟูร่วน
6 คนหนึ่งปั้นแป้งใส่ลงไปเรื่อยๆ อีกคนหนึ่งต้องใช้ไม้เขี่ยพลิกไปมา

7 เป็นสีน้ำตาลทองแล้วเขี่ยขึ้น วางบนกระชอน แล้วจึงเทลงในกระดาษชับน้ำมัน













การทำขนมบ้า(ขนมสะบ้า)
วัตถุดิบและสัดส่วน:
1. ถั่วเขียวเลาะเปลือก (ถั่วทอง) นึ่งและโขลกละเอียด 3 ถ้วย
2. แป้งสาลี 1 ถ้วย
3. กะทิ 2 ถ้วย
4. น้ำตาลทราย 1 ¾ ถ้วย
5. น้ำมันสำหรับทอดขนม


สำหรับแป้งชุบขนม 1. แป้งสาลี 1 ถ้วย
2. ไข่ไก่ (ใช้เฉพาะไข่แดง) 2 ฟอง
3. น้ำเปล่า ½ ถ้วย
4. น้ำกะทิ ½ ถ้วย
5. น้ำปูนใส ½ ถ้วย
6. เกลือ ½ - 1 ช้อนชา
ขั้นตอนการปรุง:
1. ถั่วเขียวแช่ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นล้างทำความสะอาดถั่วเขียวที่แช่ไว้ เอาเปลือกออกให้หมด
2. นำไปนึ่งในซึ้งโดยรองด้วยผ้าขาวบางนึ่งจนสุก โขลกให้ละเอียด
3. แป้งสาลี กะทิ และน้ำตาลทรายลงในกระทะทองเหลือง กวนจนสามารถปั้นเป็นก้อนได้ยกลง
4. ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ไว้จนหมด เตรียมส่วนผสมของแป้งที่จะเอาไว้ชุบขนมทอด ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน
5. ตั้งกระทะใส่น้ำมันสำหรับทอดลงไป รอจนน้ำมันเดือด เอาขนมที่ปั้นเป็นก้อนไว้ชุบแป้งแล้วใส่ลงไปทอดให้พอเหลือง ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน 




การทำขนมลา
    ส่วนประกอบ
1. ข้าวเจ้า    
2.น้ำตาลทราย     
3.น้ำผึ้ง    
4.น้ำมันมะพร้าวใหม่ๆ (หรือน้ำมันอื่นๆ)    
5.ไข่ต้ม (ใช้เฉพาะไข่แดง)

วิธีทำ 
       ล้างข้าวจ้าวให้สะอาดแล้วหมักลงกระสอบจูดทิ้งไว้ 2 คืน ครบกำหนดนำออกล้างให้หมดกลิ่น โม่เป็นแป้งแล้วบรรจุลงถุงผ้าบางๆ แขวนหรือวางไว้ให้สะเด็ดน้ำ พอหมาดนำไปวางราบลง หาของหนักๆ วางทับเพื่อให้แห้งสนิท นำแป้งที่แห้งแล้วนั้นไปตำให้ร่วน ใส่น้ำผึ้งคลุกเคล้าจนเข้ากันดี เอามือจุ่มโรย(ทอด)ดู เมื่อเห็นว่าเป็นเส้นดีและโรยได้ไม่ขาดสายก็ใช้ได้ ลองชิมดูรสจนเป็นที่พอใจ
        2 โรยทอดด้วยกระทะขนาดใหญ่ ไฟอ่อนๆ เอาน้ำมันผสมไข่แดงทาให้ทั่วกระทะ พอกระทะร้อนได้ที่ ตักแป้งใส่กะลามะพร้าวหรือขันหรือกระป๋องที่ทำขึ้นอย่างประณีตสำหรับโรยแป้งโดยเฉพาะคือเจาะก้นเป็นรูเล็กๆ จนพรุน
        3 วิธีการโรยก็วนไปวนมาให้ทั่วกระทะ หลายๆ ครั้ง จนได้แผ่นขนาดใหญ่ตามต้องการ สุกแล้วใช้ไม้ปลายแหลมพับตลบ
        4 นำมาวางซ้อนๆ กันให้สะเด็ดน้ำมัน โรยแผ่นใหม่ต่อไป อย่าลืมทาน้ำมันผสมไข่แดงทุกครั้งไป
        5 ขนมลาให้โปรตีนจากแป้ง น้ำตาล และไข่แดง และมีส่วนประกอบของไขมันอยู่ด้วย เป็นขนมที่แสดงถึงฝีมือประณีตบรรจงอย่างยิ่ง จากแป้งข้าวเจ้า ผสม น้ำผึ้ง แล้วค่อยๆ ละเลงลงบนกระทะน้ำมันที่ร้อนระอุ กลายเป็นแผ่นขนมลาที่มีเส้นเล็กบางราวใยไหม สอดสานกันเป็นร่างแห

ประโยชน์

1. ขนมลา ให้โปรตีนจากแป้ง น้ำตาล และไข่แดง และมีส่วนประกอบของไขมันอยู่ ด้วย

2. เป็นขนมที่แสดงถึงศิลปะการผลิตที่ประณีตบรรจงอย่างยิ่งจากแป้งข้าวเจ้า ผสม น้ำผึ้ง แล้วค่อย ๆ ละเลงลงบนกระทะน้ำมันที่ร้อนระอุ กลายเป็นแผ่นขนมลาที่มีเส้นเล็กบางราว ใยไหม และสอดสานกันเป็นร่างแห

3. ขนมลา มุ่งหมายปรุงเป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดหฺมฺรับเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีสารทเดือนสิบ โดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ชาวนครศรีธรรมราชปรุงขนมลาขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา นอกจากนี้ยังมีขนมลากรอบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ดัดแปลงมาจากขนมลาดั้งเดิม โดยการพับมีขนาดหนึ่งคำโรยน้ำตาลทรายแล้วผึ่งแดดหรืออบใน เตาจนกรอบร่อน และมี ลาม้วนปรุงด้วยวิธีเดียวกันกับขนมลา แต่ละเลงบนกระทะน้ำมัน แล้ว ม้วนกลมจะได้ลาม้วน 



วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หมรับเดือนสิบ


   
  ครูอุ้ยได้ไปร่วมทำบุญวันสารทเดือนสิบวัดคูหาภิมุข  อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ประเพณีเดือนสิบของวัดแห่งนี้จะมีผู้คนต่างอำเภอไปร่วมกันทำบุญกันเนืองแน่น


ชาวบ้านในแต่ละหมูบ้านก็จะทำหมรัมาประกวดกัน
หมรับ คือการจัดเตรียมอาหารคาวหวานบรรจุลงในภาชนะเพื่อไปถวายพระ
อุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน ให้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ ซึ่งลูกหลานจะ
ต้องเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ และอาหารพร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม
สิ่งสำคัญที่ต้องจัดใส่หมรับ คือขนม ๕ อย่าง ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา
ขนมกงหรือขนมไข่ปลา  ขนมดีซำ และขนมบ้า




หมรับก่อนที่จะนำมาวางให้ผู้คนได้ร่วมกันทำบุญกัน จะมีการแห่หมรับ
ไปตามหมู่บ้านและรอบๆศาลาการเปรียญโดยจะมีทั้งรำกลองยาว มีการแต่งกาย
เหมือนเปรต เพื่อให้ผู้คนได้ร่วมกันทำบุญและเพื่อความสนุกสนาน





ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net

ประเพณีชิงเปรต
วามสำคัญ

"ชิงเปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วน เท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย

ผู้ เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่ อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลาน ลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น


พิธีกรรม


การ ตั้งเปรต และชิงเปรตจะกระทำกันในวันที่ยกหมรับไปวัด ไม่ว่าจะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ หรือ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ก็ตาม ผู้ตั้งเปรตจะนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปเพื่อการตั้งเปรตด้วย อาหารที่ใช้ตั้งเปรตนี้ส่วนมากเป็นอาหารที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบอย่างละ นิดอย่างละหน่อย ขนมที่ไม่ขาดคือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมเบซำ(ดีซำ) นอกจากขนมดังกล่าวแล้ว ยังมีของแห้งที่ใช้เป็นเสบียงกรังก็จัดฝากไปด้วย เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล น้ำปลา กล้วย อ้อย มะพร้าว ด้าย เข็มเย็บผ้า ธูปเทียน นำลงจัดในหมรับ โดยเอาของแห้งรองก้นและอยู่ภายใน ส่วนขนมทั้งหลายอยู่ชั้นนอก ปิดคลุมด้วยผืนลาทำเป็นรูปเจดีย์ยอดแหลม หรือรูปอื่นแล้วแต่การประดิษฐ์ของผู้จัด ส่วนภาชนะที่ใช้ แต่เดิมนิยมใช้กระเชอหรือถาด นำหมรับ
ที่จัดแล้วไปวัด รวมกันตั้งไว้บน "ร้านเปรต" ซึ่งสร้างไว้กลางวัดยกเสาสูง ต่อมาในระยะหลัง ๆ ร้านเปรตทำเป็นศาลา หลังคามุงจากหรือมุงกระเบื้องแล้วแต่ฐานะของวัด บางถิ่นจึงเรียก "หลาเปรต" บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อมไว้รอบและต่อยาวไปจนถึงพระสงฆ์ที่นั่งอยู่ใน วิหารที่เป็นที่ทำพิธีกรรม โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือกระดาษเขียนชื่อของผู้ตาย ซึ่งบุตรหลายนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระสงฆ์ บุตรหลานจะกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปยังเปรตชนที่เป็นบรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เก็บสายสิญจน์ ขนมต่าง ๆ จะถูกแบ่งออกส่วนหนึ่ง พร้อมกับของแห้งไว้ถวายพระ อีกส่วนหนึ่งให้เปรตชนที่พอมีกำลังเข้ามาเสพได้ ในขณะเดียวกันผู้ที่มาร่วมทำบุญทั้งหนุ่มสาว เฒ่าแก่ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะเข้าไปรุมกันแย่งขนมที่ตั้งเปรตด้วยความสนุกสนาน เชื่อกันว่า การแย่งขนมเปรตที่ผ่าการทำพิธีแล้วนี้จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และยังเชื่อกันต่อไปว่าขนมเหล่านี้ถ้านำไปหว่านในสวนในนา จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์เพิ่มผลผลิตสูง โดยเฉพาะขนมเทียน บางแห่งนำไปติดไว้ตามต้นไม้ผลเพื่อให้มีผลดก หลังจากนั้น ก็มักมีผู้ใจบุญโปรยทาน โดยใช้เหรียญสตางค์โดยไปที่ละมากเหรียญ ตรงไปยังฝูงชน ที่เรียกว่า "หว่านกำพรึก" แย่งกันอย่างนุกสนาน


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.baanmaha.com