เค้าโครง




แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์


1.      โครงงานเรื่อง สืบสานวัฒนธรรมขนมเดือนสิบ
2.     ชื่อผู้เสนอโครงงาน  2.1. นางสาวกชกร  ข้างแก้ว
                                     2.2. นางสาวกอบทอง  พุ่มอยู่
                                     2.3. นางสาวปริชาติ  ชุมพล
3.      ครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูโสภิตา  สังฆะโณ      คุณครูเชษฐา  เถาวัลย์
 
4.     หลักการและเหตุผล
ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของชาวภาคใต้ในประเทศไทย ประเพณีนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยกระทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานและญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยจะมีการจัดอาหารคาวหวานไปวางไว้บริเวณวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ในบางครอบครัวจะมีการจัดหมรับ ในการจัดหมรับจะต้องมีขนมที่สำคัญ 5 อย่าง คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ และขนมไข่ปลาซึ่งได้มีความเชื่อกันว่าขนมแต่ละชนิดนี้จะเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่างๆที่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วสามารถนำไปใช้แทนในนรกได้  
จากข้อมูลข้างต้นจึงทำให้เห็นได้ว่า ประเพณีบุญสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูที่ลูกหลานมีแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยแสดงออกด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลผ่านสิ่งของและขนมต่างๆ ดังนั้นประเพณีนี้จึงควรอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ปฏิบัติกันสืบต่อไป โดยสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวมรวบจากแหล่งความรู้ต่างๆนำมาจัดทำเป็นเว็บบล็อก เพื่อให้ง่ายแก่การค้นคว้าของผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องนี้
 
5.     หลักการ ทฤษฏีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของประเพณีสารทเดือนสิบประเพณีสารทเดือนสิบสันนิษฐานว่าเป็นประเพณีที่รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียกับประเพณีอื่นอีกหลายประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชรับมา ทั้งนี้เพราะว่าผู้คนเมืองนครศรีธรรมราชติดต่อกับอินเดียมาเป็นเวลานาน สมัยก่อนดินแดนส่วนอื่นๆ ของประเทศไทย วัฒนธรรมและอารยธรรมของอินเดียส่วนใหญ่ถูกถ่ายทอดมายังผู้คนในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นแห่งแรกแล้วค่อยๆถ่ายทอดไปยังเมืองอื่นๆ และภูมิภาคอื่นๆในประเทศไทย ประเพณีสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่วิวัฒนาการมาจาก ประเพณี "เปตพลี" ของศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือในศาสนาพราหมณ์มีประเพณีอยู่ประเพณีหนึ่ง เรียกว่า "เปตพลี" เป็นประเพณีที่จัดทำขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ประเพณีนี้ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล คำว่า "แปต" เป็นภาษาบาลีตรงกับคำว่า "เปรต" ในภาษาสันสกฤตแปลว่า "ผู้ไปก่อน" หมายความถึงบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว ถ้าเป็นคนดีพญายมซึ่งเป็นเจ้าแห่งความตายจะพาวิญญาณไปสู่แดนอันเป็นบรมสุขไม่มาเกิดอีกแดนนี้อาจจะอยู่ทิศใต้แคนเดียวกับยมโลก ตามความเชื่ออันเป็นความเชื่อดังเดิมที่สุดของพราหมณ์ซึ่งมีปรากฏในพระเวท อันเป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ต่อมาพราหมณ์ได้เกิดความเชื่อชิ้นใหม่คือความเชื่อเกี่ยวกับนรก ดังนั้นชาวอินเดียจึงเกรงว่าบรรพบุรุษที่ตายอาจจะไปตกนรกก็ได้หากคนไม่ช่วย วิธีการช่วยไม่ให้คนตกนรกก็คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เรียกว่าพิธีศราทธ์ ซึ่งกำหนดวิธีการทำบุญไว้หลายวิธี หากลูกหลานญาติมิตรไม่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุที่ตายไปเป็นเปรตจะได้รับความอดยากมาก ดังนั้นการทำบุญทั้งปวงที่ทำเพื่ออุทิศผลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเรียกว่าทำบุญทักษิณานุปทานหรือเปตพลี นั้นล้วนเป็นความเชื่อที่มีเค้ามาจากเรื่องเปรตของพราหมณ์ทั้งสิ้น
 
6.     วัตถุประสงค์ของโครงงาน
      6.1เพื่อจัดทำเว็บบล็อก เรื่อง สืบสานวัฒนธรรมขนมเดือนสิบ
      6.2 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
      6.3 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของขนมชนิดต่างๆที่ใช้ในประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
      6.4 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำขนมชนิดต่างๆที่ใช้ในประเพณีบุญสารมเดือนสิบ
      6.5เพื่ออนุรักษ์ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
    
7.ขอบเขตของโครงงาน
7.1 รวบรวมข้อมูลความรู้ในเรื่อง ประเพณีและขนมบุญสารทเดือนสิบ
7.2 เวลาของการดำเนินการ คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
7.3 แหล่งค้นคว้าข้อมูล คือ อินเทอร์เน็ตและห้องสมุด
8.  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
          8.1 เว็บบล็อก (WebBlog)
             8.1.1 ความเป็นมาของเว็บบล็อก
          สำหรับคำว่าเว็บบล็อก มาจากคำว่า เว็บ(web)หรือ เว็บไซต์ และคำว่า Log ที่หมายถึง สมุดที่บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เมื่อรวมกันออกเสียงควบเป็นเว็บ-บล็อก หรือเรียกสั้นๆว่าบล็อก ดังนั้นบล็อกจึงกลายเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว ที่ผู้ทำเขียนเล่าเรื่องต่างๆตามใจชอบ ซึ่งคล้ายกับไดอารี่ออนไลน์
             8.1.2 ความหมายของบล็อก
          บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพลิงค์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์" บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ให้กับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไปเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
             8.1.3 การใช้งานบล็อก
          ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันทีและผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก ส่วนสำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น
             8.1.4. ลักษณะของเว็บไซต์ที่เป็นบล็อก สังเกตได้จากลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ
                8.1.4.1. มีการบันทึกเนื้อหาโดยเจ้าของบล็อกอย่างสม่ำเสมอ
                8.1.4.2. ข้อมูลจะถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบคือรายการล่าสุดจะถูกแสดงไว้ด้านบนสุดของเว็บเพจแล้วไล่ลำดับย้อนหลังตามวันเวลาการเขียนไปเรื่อยๆ
                 8.1.4.3. มักจะมีการลิงค์ไปหาบล็อกอื่นที่ผู้เขียนสนใจหรือได้เสนอความคิดเห็นโยงต่อจากข้อเขียนที่เขาอ้างถึงดังนั้น นอกจากบล็อกจะใช้ในการเขียนและเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ แล้วก็ยังเป็นแหล่งรวมลิงค์ที่เจ้าของบล็อกนั้นๆใช้เป็นฐานเพื่อเสริมต่อความรู้อยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ของบล็อกอื่นๆหรือลิงค์ของเว็บไซต์ก็ตาม
                 8.1.4.4. บันทึกที่เขียนไว้ในบล็อกมักจะมีการแยกแยะเป็นกลุ่มเนื้อหาตามหัวข้อหลักๆที่ผู้เขียนสร้างขึ้น เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่านที่สนใจในบันทึกที่มีความสัมพันธ์กันในใจความหลัก
                 8.1.4.5. และเมื่อผู้อ่านได้รับความรู้ต่างๆ จากผู้เขียนบล็อกแล้วผู้อ่านมักจะมีการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อเป็นการต่อยอดความรู้และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มผู้อ่านและผู้เขียนบล็อก
             8.1.5 จุดเด่นของบล็อก
          บล็อกแต่ละบล็อกจะมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเช่นบล็อกที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ บล็อกด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยบล็อกด้านการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ส เป็นต้น การสร้างจุดยืนของบล็อกเช่นนี้และมีการเขียนที่เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้บล็อกเป็นที่น่าสนใจติดตามจากผู้อ่านมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนแต่ละคนอาจจะมีความรู้ความถนัดในหลากหลายด้านการจะนำความรู้ทั้งหมดมาเขียนในบล็อกเดียวอาจทำให้การแยกแยะความรู้เป็นไปด้วยความลำบากทำให้หาแก่นความรู้ได้ยาก และสำหรับผู้อ่านแล้วก็อาจจะยากในการติดตามอ่าน ดังนั้นสำหรับผู้เขียนหนึ่งคน ความสามารถของระบบในการสร้างบล็อกได้มากกว่าหนึ่งบล็อกเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทีแตกต่างกันและมีการทำงานที่น่าสนใจ
          8.2. โดเมนเนม (domain name)
             8.2.1 ความหมายของโดเมนเนม
          โดเมนเนม (domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรสของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้ โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
             8.2.2. ส่วนประกอบของโดเมนเนม มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ
                - ส่วนของชื่อ ซึ่งอาจเป็นชื่อของบุคคล นิติบุคคล องค์กร เครื่องหมายการค้า หรืออื่นๆ ที่ต้องการจะสื่อให้เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ นั้นๆ
                - ส่วนของนามสกุล ซึ่งเป็นลักษณะการประกอบการของเว็บไซต์นั้นๆ โดยนามสกุลของโดเมนเนมนั้น ยังแยกความดูแลให้แต่ละประเทศ และแบ่งตามประเภทธุรกิจขององค์กรนั้นๆอีก
             8.2.3. ประเภทของโดเมนเนม
                8.2.3.1. การจดทะเบียนโดเมนเนมสากล หรือ โดเมน 2 ระดับ เช่น .com, .net, .org เป็นต้น สามารถจดทะเบียนได้กับผู้ให้บริการด้านเว็บโฮสติ้งและบริการจดโดเมนเนมทั่วไป ทั้งผู้ให้บริการภายในและภายนอกประเทศ โดยอัตราค่าบริการขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการเรียกเก็บโดยโดเมนแบบนี้จะประกอบด้วยชื่อโดเมน และตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุ คือคำย่อของประเภทองค์กร
                8.2.3.2 การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ หรือ โดเมน 3 ระดับ เป็นโดเมนเนมที่ดูแลด้วยหน่วยงานภายในประเทศนั้นๆ โดยนโยบายการจดทะเบียนโดเมนเนม จะถูกกำหนดใช้เฉพาะภายในประเทศนั้นเช่นกัน โดเมนเนมภายในประเทศ เช่น .go.th, .co.th ในปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจดโดเมนเนมภายในประเทศโดยตรงคือ บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด โดเมนเนมในลักษณะนี้จะประกอบด้วย  ชื่อโดเมน , ตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุดใช้ระบุประเภทขององค์กรแต่มีรูปแบบแตกต่างจากคำย่อที่ใช้โดเมนเนม2 ระดับ และตัวย่อที่ระบุประเทศที่ก่อตั้งขององค์กรนั้นๆ  ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าในอเมริกานั้นจะใช้ตัวย่อของประเภทองค์กรเป็นตัวอักษร 3 ตัว microsolf.com  ในกรณีที่ประเทศอื่นๆเช่นบ้านเราจะมีเพียงแค่ 2 ตัว เช่น moe.go.th
          8.3. ภาษา HTML
             8.3.1. ความหมายของ HTML
HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วยHTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language)พัฒนาโดย นาย Tim Berners - Lee เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้พัฒนาเอกสารในรูปแบบของเว็บเพจบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการเรียกใช้เอกสารเหล่านี้ทำได้โดยการใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เช่น Mosaic , Opera , Nescape navigator , Internet Explorer ฯลฯ เรียกดูแฟ้มที่สร้างด้วยภาษา HTML ข้อดีของ HTML คือสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการได้หลากหลายชนิดโดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย Tag ซึ่งTag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ HTML
             8.3.2. โครงสร้างของภาษา HTML
          แฟ้มข้อมูลที่เขียนด้วยภาษา HTML นั้นจะมีการนำคำสั่ง HTML ที่เรียกว่า แท็ก (Tag) มากำหนดลักษณะและรูปแบบของเอกสารที่แสดงบนจอภาพ แท็ก (Tag) ประกอบด้วย เครื่องหมายน้อยกว่า (<) ตามด้วยชื่อแท็ก ปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า (>) เช่น <HTML>, <HEAD>, <BODY>ชื่อแท็กนั้นอาจจะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้ แท็กในภาษา HTML
          8.4. Social Media
             8.4.1 ความหมายของ Social Media
          Social Media มาจาก คำว่า “Social”หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน ผสมกับ คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ ซึ่งมีพื้นฐานการเกิด Social Media ได้มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ
          8.5. World Wide Web ( WWW )
             8.5.1 ความหมายของWWW
          World Wide Web หรือที่เรียกกันๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือคอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ตที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Netscape เวิร์ลไวด์เว็บถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมีโครงการทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในทวีปยุโรปโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ CERN ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ผู้ที่ได้รับเกียรติเป็นบิดาของเวิร์ลไวด์เว็บได้แก่ Tim Berners-Lee ทิมได้คิดโครงการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารขึ้นมา โดยใช้ระบบไฮเปอร์เท็กซ์และโครงการของเขาก็ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยจนเขากลายเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ไปปัจจุบันนี้ทิมทำงานอยู่ที่ World Wide Web Consortium หรือชื่อย่อว่า W3C ซึ่งเป็นองค์กรศูนย์กลางของเครือข่ายใยแมงมุมทำหน้าที่รับรอบมาตรฐานต่างๆของระบบทั้งหมด

9.  ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
การดำเนินการ
วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดหัวข้อโครงงาน
1 ม.ค. 55 – 6 ม.ค. 55
กอบทอง
เสนอโครงร่างโครงงาน
7 ม.ค. 55 – 15 ม.ค. 55
กชกร
ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล
16 ม.ค. 55 –20 ม.ค. 55
กชกร
วิเคราะห์ข้อมูล
21 ม.ค. 55 – 25 ม.ค. 55
กอบทอง
ออกแบบเว็บไซต์
21 ม.ค. 55 – 25 ม.ค. 55
ปริชาติ
พัฒนาเว็บไซต์
26 ม.ค. 55 - 28 ม.ค. 55
ปริชาติ
ทดสอบและแก้ไขระบบ
10 ก.พ. 55 – 14 ก.พ. 55
กชกร
นำเสนอโครงงาน
10 ก.พ. 55 – 14 ก.พ. 55
ปริชาติ
ประเมินผลโครงงาน
10 ก.พ. 55 – 14 ก.พ. 55
กอบทอง


10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ      
10.1 ทำให้รู้เกี่ยวกับประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
10.2 ทำให้รู้และเข้าใจขนมที่ใช้ในประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
10.2 ทำให้รู้ถึงวิธีการทำขนมต่างๆที่ใช้ในประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
10.3 ทำให้มีการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีด้านขนมของภาคใต้